วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อนุกรมวิธาน



 
อนุกรมวิธาน


ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) มี 3 ประเภท ได้แก่ ความหลากหลายทางพันธุกรรมในกลุ่มประชากร, ความหลากหลายทาง species และความหลากหลายทางระบบนิเวศ


อนุกรมวิธาน (taxonomy) เป็นวิชาว่าด้วยระบบการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย 3 กิจกรรม เมื่อมีสิ่งมีชีวิตนิรนาม X


1. classifiacation (การจัดจำแนก) เพื่อจัดกลุ่มว่า X อยู่ในลำดับขั้นใด category ใด จากใหญ่สุดไปหาเล็กสุด คือ Kingdom, Phylum, Class, Order, Famliy, Genus, Species (อาณาจักร, ไฟลัม, คลาส, อันดับ, วงศ์, สกุล, สปีชีส์) โดยมี 2 ระบบ คือ


1.1 ระบบผิวเผิน (artificial classification) รวดเร็วแต่ไม่แม่นยำ เช่น เห็นนกกับแมลงมีปีกเหมือนกัน ก็เหมารวมว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

1.2 ระบบธรรมชาติ (natural classification) ถือลำดับทางสายวิวัฒนาการ (phylogeny) เป็นสำคัญอาศัยความรู้ด้านต่างๆมาประกอบด้วย เช่น


-กายวิภาคศาสตร์ (anantomy) โดยมองโครงสร้างสิ่งมีชีวิตว่ามีจุดร่วมคล้ายกันอย่างไร แบ่งเป็น homologous structure คือโครงสร้างที่มีจุดกำเนิดเดียวกัน ทำหน้าที่เหมือนหรือต่างกัน เช่น แขนคน-ขาหมู-ปีกค้างคาว-ครีบปลาวาฬ และ ananlogous structure คือโครงสร้างที่มีจุดกำเนิดไม่เหมือนกัน แต่หน้าที่เหมือนกัน เช่น ปีกแมลง-ปีกนก, หนามกระบองเพชร-หนามกุหลาบ


-อื่นๆ เช่น คัพภะวิทยา (ศึกษาเอมบริโอ) ชีวเคมี เซล์ชีววิทยา วิวัฒนาการ นิเวศวิทยา พฤติกรรม บรรพชีวินวิทยา (ดูฟอสซิลและตารางธรณีกาล) เป็นต้น


2. nomenclature (การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต) เพื่อตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ของ X เพื่อความเป็นสากล ตามระบบทวินามของคาโรลัส ลินเนียส บิดาแห่งอนุกรมวิธาน (bionomial system-ระบบนี้ไม่ใช้กับไวรัส) ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะประกอบด้วยคำละตินสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่า ชื่อสกุล (generic name) อีกส่วนเรียก ชื่อระบุ species (species epithet) โดยต้องเขียนส่วนแรกนำหน้าด้วยตัวใหญ่ ส่วนหลังนำหน้าด้วยตัวเล็ก ทั้งสองส่วนขีดเส้นใต้แยกกัน หรือเขียนด้วยตัวเอียง อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบางครั้งจะมีชื่อของผู้ตั้งชื่อและ ค.ศ. ที่ตีพิมพ์ชื่อนั้น เขียนเป็นตัวตรงด้วย


ถูก : Homo sapiens , H. Sapiens


ผิด : Homo sapiens , Homo Sapiens


3. identification (การระบุชนิด) เพื่อสืบค้นดูว่า X อยู่ในลำดับขั้น (category) ใด โดยใช้ key ซึ่งมักทำเป็นแบบแตกออกทีละสอง (dichotomous key) เช่น มีหรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส, มีหรือไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง เป็นต้น


การจำแนกสิ่งมีชีวิต นักอนุกรมวิธานอาจจัดให้อยู่ใน 3 โดเมน หรือ 5 อาณาจักรก็ได้ ดังแสดงไว้ในตาราง

โดเมน Archaea Bacteria Eukarya
อาณาจักร Monera Protista Fungi Plantae Animalia
ได้แก่ แบคทีเรียโบราณ แบคทีเรีย cyanobacteria โพรโทซัว สาหร่าย เมือก เห็ด รา ยีสต์ พืช สัตว์
เซลล์ prokaryotic eukaryotic
เนื้อเยื่อ ไม่มี มี
เอ็มบริโอ ไม่มี มี
ผนังเซลล์ มีแต่ไม่เป็น peptidoglycan ถ้ามีจะเป็น peptidoglycan มีในสาหร่ายเกิดจากสารแตกต่างกัน มีเป็นสาร chitin มีเป็นสาร cellulose ไม่มี


 
 
 
วันที่ : 01/02/2556

kingdom monera




Kingdom Monera


เป็นอาณาจักรเดียวที่ไม่มี prokaryote คือ ไม่มี nuclear membrane, นิวเคลียส, nucleolus, cytoskeleton, centriole, organelle ที่มีเยื่อหุ้มทั้งหมด แต่มี 70s ribosome อาจจะมี flagellum (ถ้ามีจะไม่ใช่ 9+2 และประกอบด้วยโปรตีน flagellin) อาจจะไม่มีผนังเซลล์หรือมีก็ได้ อาจจะอยู่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือเซลล์กลุ่ม (colony) หรือเป็นสาย (filament) อาจจจะมีรูปร่างเป็นทรงกลม (coccus) ทรงท่อน (bacillus) หรือทรงเกลียว (spirillum) บางชนิดสามารถสร้าง capcule เป็นสารหุ้มภายนอก หรือ endospore (ไม่จัดเป็นการสืบพันธุ์) ขึ้นมาในเซลล์เพื่อทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มีความหลากหลายของ metabolism มากที่สุด เช่น



- photoautotroph; นำพลังงานแสงมาสร้างอาหาร เช่น purple sulfer bacteria, green sulfer bacteria(ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกำมะถัน), cyanobacteria (ได้ผลิตภัณฑ์เป็น O2)

- chemoautotroph; นำพลังงานจากปฏิกิริยาเคมีมาสร้างอาหาร เช่น nitrifying bacteria

- heterotroph; เป็นผู้ย่อยสลาย (decomposer) หรือ ปรสิต

- บางชนิดตรึง N2 ได้ เข่น Rhizobium (ในรากพืชตระกูลถั่ว), Azotobactor, Nostoc, (ในรากปรง), Anabaena (ในแหนแดง), Oscillatoria



โครโมโซมของ prokaryote เป็นแบบชั้นต่ำ คือมีแท่งเดียวและไม่จับกับโปรตีน histone และใน cytosol อาจพบ DNA วงแหวน เรียก plasmid ควบคุมลักษณะบางอย่างที่ไม่สำคัญกับการดำรงชีวิตในภาวะปกติ



ผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรีย เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต น้ำส้มสายชู เนยแข็ง



โรคเกิดจากแบคทีเรีย เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หนองใน ไทฟอยด์(ไข้รากสาดน้อย) ซิฟิลิส อหิวาห์ตกโรค วัณโรค เรื้อน ปอดบวม



อาณาจักร Monera แบ่งออกเป็น 2 อาณาจักรย่อย



1. Aachaeabacteria คือ โดเมน Archea (แบคทีเรียโบราณ) ซึ่งสามารถอาศัยอยู๋ในสิ่งแวดล้อมสุดโต่งได้ ผนังเซลล์ไม่เป็น peptidoglycan

1.1 Eukyarchaeota คือ พวกชอบสร้างแก๊สมีเทน และพวกชอบความเค็มจัด

1.2 Creanarchaeota คือ พวกชอบอุณหภูมิสูงจัด และชอบกรดจัด



2. Eubacteria คือ โดเมน Bacteria มีรูปแบบของการดำรงชีวิตและ metabolism หลากหลายที่สุด ถ้ามีผนังเซลล์จะเป็นสาร peptidoglycan ซึ่งแบคทีเรียในกลุ่มที่มีผนังเซลล์สามารถจำแนกได้ด้วยการย้อมสี

2.1 พวกแกรมบวก ย้อมติดสีม่วงของ crystal violet เช่น Lactobacillus (ผลิต lactic acid ไว้ทำนมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนยแข็ง ผักดอง ), Streptomyces (เป็นแบคทีเรียที่เป็นสายคล้ายเชื้อรา ผลิตยาปฏิชีวนะ streptomycin) Bacillus(บางชนิดสร้าง endospore ที่ก่อโรคแอนแทรกซ์) Mycoplasma (เป็นเวลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์ แต่นับว่าเป็นพวกแกรมบวก บางชนิดก่อให้เกิดโรคปอดบวม)

2.2 พวกเเกรมลบ ย้อมติดสีแดงของ safranin มีหลายกลุ่มได้แก่

- Proteobacteria มีจำนวนมากที่สุด เช่น purple sulfer bacteria (สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้กำมะถัน), Rhizobium

- Chlamydias ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม

- Spirochetes ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส ฉี่หนู

- Cyanobacteria หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ O2 (ถึงแม้จะไม่มี chloroplast แต่มีสารสีต่างๆ) เช่น Anabaena, Nostoc, Oscillatoria, Spirulina (สาหร่ายเกลียวทอง มีโปรตีนสูง), Microcystis (หลั่งสาร hydroxylamine ทำให้น้ำเสีย)

  ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/130731

วันที่ : 01/02/2556

kingdom protista


Kingdom Protista

เป็นพวกโพรทิสต์ คือ eukaryote ที่คล้ายสัตว์ (โพรโทซัว) คล้ายพืช (สาหร่าย) และคล้ายฟังไจ (ราเมือก)

โพรโตซัว


1. Diplomonadida เป็น eukaryote ชั้นต่ำ ไม่มี organelle มี flagellum หลายเส้น มี 2 นิวเคลียส เช่น Giardia เป็นปรสิตในลำไส้คน

2. Paeabasala เป็น eukaryote ชั้นต่ำ ไม่มี organelle มี flagellum 2 เส้น เยื่อหุ้มเซลล์เป็นลอนๆ เช่น Trichonympha ที่อยู่ในลำไส้ปลวกแบบ mutualism คอยย่อย cellulose, Trichomonas ที่ทำให้ติดเชื้อในช่องคลอด

3. Euglenozoa คือพวกที่เคลื่อนที่โดย flagellum เช่น Euglena ซึ่งมี eyespot ไว้ตอบสนองต่อแสง และมี chloroplast จึงเป็นผู้ผลิตซะส่วนใหญ่, Trypanosoma เป็นปรสิตนำโรคเหงาหลับ

4. Alveolata คือพวกที่มี alveoli เป็นช่องเล็กๆไม่รู้หน้าที่ อยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์

4.1 Dinoflagellate มี 2 flagellum ทำให้เกิดปรากฎการณ์ red tide หรือขี้ปลาวาฬ มีความเป็นพิษต่อทะเล ทำให้สัตว์น้ำตายได้

4.2 Apicomplexa เป็นปรสิตมี organelle ไว้แทงโฮสต์ ม่มี organelle สำหรับเคลื่อนที่ เรียกอีกอย่างว่าพวก sporozoa เช่น Plasmodium ก่อโรคมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ
4.3 Ciliate ใช้ cilia เคลื่อนที่ มีความหลากหลายมาก เช่น Paramecium, Vorticella, Stentor

5. Rhizopoda คือพวกที่เคลื่อนที่ด้วยเท้าเทียม (pseudopodium) เช่น Amoeba, Entamoeba ที่สำคัญคือ E. histolytica ทำให้เกิดโรคบิดมีตัว, E. gingivalis อยู่ตรงฟันช่วยกินแบคทีเรีย, E. coli คอยกินแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้

โพรโทซัวอยู่ในไฟลัม Protozoa และจำแนกออกตามโครงสร้างที่ใช้เคลื่อนที่เป็น 4 กลุ่ม

1.เคลื่อนด้วย flagellum เช่นพวก Euglenozoa อย่างยูกลีนา

2.เคลื่อนด้วย cilia เช่นพวก Ciliate อย่างพารามีเซียม

3.เคลื่อนด้วย pseudopodium เช่นพวก Rhizopoda อย่างอะมีบา

4.ไม่มีโครงสร้างเคลื่อนที่ คือพวก sporpzpa อย่างพลาสโมเดียม

สาหร่าย เป็นผู้ผลิตกำลังสูงที่สุดบนโลก มีรงควัตถุสังเคราะห์ด้วยแสงชนิดต่างๆกันบรรจุอยู่ใน chloroplast

1. Stramenopila เป็นสาหร่ายที่เซลล์สืบพันธ์มี 2 flagellum เส้นหนึ่งมีขน อีกเส้นไม่มี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.1 สาหร่ายสีน้ำตาล มีสาร align เป็นสาหร่ายที่โครงสร้างซับซ้อนที่สุด เช่น Pedina, Laminaria, Fucus (3 ตัวนี้มีโพแทสเซียมสูง) Sargussum (สาหร่ายทุ่น มีไอโอดีนสูง), Kelp (มีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก)


1.2 Diatom เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว มีผนังเซลล์เป็นสองฝาประกบกัน เป็นสารพวกซิลิกา เมื่อตายไปทับถมในทะเล เรียก diatomaceous earth มักใช้ขุดมาทำอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น เครื่องแก้ว ยาขัดโลหะ ยาสีฟัน เครื่องกรอง ยาฆ่าแมลง ฯลฯ

2. Rhodophyta หรือสาหร่ายสีแดง ไม่พบระยะที่มี flagellum มีสาร agar, carrageenan จึงสกัดออกมาทำวุ้นได้ เช่น Porphyra (จีฉ่าย, โนริ)ใช้ทำอาหาร, Gracillaria (สาหร่ายผมนาง) ใช้ผลิตวุ้น

3. Chlorophyta หรือสาหร่ายสีเขียว เช่น Cholorella, Scenedesmus ทั้งสองมีโปรตีนสูง, Spirogyra (เทาน้ำ) ใช้ทำอาหาร, Acetabularia ใช้ศึกษาเรื่องนิวเคลียส, Volvox เป็นก้อน colony กลมๆ, Chlamydomonas, Chara (สาหร่ายไฟ) เป็นสาหร่ายที่ใกล้ชิดกับพืชมากที่สุด

 
ราเมือก (กลุ่ม mycetozoa) ต่างจากฟังไจ ตรงที่กินแบบ phagocytosis หรือเขมือบ (ฟังไจกินแบบหลั่งน้ำย่อยแล้วดูดซึม) และเคลท่อนที่ได้ (ฟังไจเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่อาศัยการเจริญอย่างรวดเร็วเพื่อครอบครองพื้นที่) เป็น decomposer เช่น Stemonitis, Physarum เป็นปรสิตในพืช เช่น Plasmodiophora ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลี ราเมือกมี 2 แบบ คือ

1. Plasmodial slime mold เป็นก้อน มีหลายนิวเคลียส

2. Cellular slime mold เป็นเซลล์เดี่ยวอยู่อิสระ มี 1 นิวเคลียส

ราเมือกอยู่ในไฟลัม Myxomycophyta ส่วนสาหร่ายแบ่งออกเป็นดิวิชันต่างๆ คือ


1. Chlorophyta สาหร่ายสีเขียว เช่น Chlorella, Scenedesmus
2. Phaeophyta สาหร่ายสีน้ำตาล เช่น Kelp
3. Chrysophyta สาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือสีทอง คือ Diatom
4. Euglenophyta คือ พวกยูกลีนา
5. Rhodophyta สาหร่ายสีแดง เช่น Porphyra
6. Pyrrophyta สาหร่ายสีเปลวไฟ คือ Dinoflagellate


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/131329
วันที่ : 01/02/2556


kingdom fungi

 
 
 
 




Kingdom Fungi

คือพวกเห็ด (mushroom), รา (mold), ยีสต์ (yeast) มีความใกล้ชิดกับสัตว์มากกว่าพืช เป็น decomposer ที่สำคัญของระบบนิเวศ

ฟังไจเป็น eukaryote ที่มีเส้นใย (mycelium) ซึ่งทำหน้าที่ในการกินแบบหลั่งน้ำย่อยแล้วดูดซึม หรืออาจเปลี่ยนเป็นอวัยวะกระจายสปอร์ที่เรียกว่า fruiting body ผนังเซลล์เป็นสาร chitin และสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ ดำรงชีวิตได้ทั้งแบบ saprophytism (หลั่งน้ำย่อยออกมาแล้วดูดซึม) parasitism (เป็นปรสิต) หรือ mutualism (พึ่งพา) สร้างสปอร์ได้ 2 ชนิด คือ sexual spore โดย meiosis กับ asexual spore โดย mitosis ซึ่งเราใช้ sexual spore เป็นเกณฑ์ในการจำแนกฟังไจออกเป็น 4 ไฟลัม แต่บางชนิดก็สร้างได้ asexual spore เท่านั้น เรียกว่าเป็นพวก fungi imperfect เช่น Penicillium, Aspergillus

1. Chytridiomycota คือ พวก chytrid : เป็นฟังไจชนิดเดียวที่เซลล์สืบพันธุ์และสปอร์มี flagellum สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาจากโพรทิสต์

2. Zygomycota เช่น ราดำ (rhizopus) ที่ขึ้นอยู่บนขนมปัง : hypha ไม่มีผนังกั้น สร้าง sexual spore คือ zygospore

3. Ascomycota มีจำนวนมากที่สุด เช่น ยีสต์ โมเรล ทรัฟเฟิล ราแดง : hypha มีผนังกั้น สร้าง sexual spore เรียก ascospore ในถุงเรียก ascus โดยยีสต์ เป็น unicellular และไม่มี hypha มีการสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (ไม่อาศัยเพศ) หรือ meiosis (อาศัยเพศ)

4. Basidiomycota เช่น เห็ดต่างๆ ราสนิม ราเขม่าดำ รา mycorrhiza ที่อยู่กับรากสนแบบ mutualism ช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ : hypha มีผนังกั้น สร้าง sexual spore เรียก basidiospore ใน fruiting body ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ


ราแดง ใช้ทำข้าวแดงและเต้าหู้ยี้, Pencillium ใช้ทำยาปฏิชีวนะ penicillin, Asperigillus flavus มีสาร alflatoxin ทำให้เกิดมะเร็งตับ, Aspergillus niger ผลิตกรดซิตริก, Rhizopus nigricans ผลิตกรดฟูมาริก, ยีสต์สามารถหายใจแบบไม่ใช้ O2 ได้แอลกอฮอล์ และ CO2 โดยกระบวนการหมัก จึงใชยีสต์หมักไวน์ เหล้า และใส่ยีสต์เพื่อให้ขนมปังขึ้นฟู นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากฟังไจยังมีซีอิ้ว เต้าเจี้ยว ถั่วหมัก

โรคจากฟังไจ เช่น กลาก เกลื้อน ง่ามเท้าเปื่อย ฯลฯ และโรคเกิดจากราสนิม ราเขม่าดำ ราน้ำค้าง โรคใบไหม้เป็นโรคในพืชที่เกิดจากฟังไจ




ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/131334
วันที่ : วันที่ 01/02/2556

อาณาจักรสัตว์

 
อาณาจักรสัตว์


       สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมีมากกว่า 1.7 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด สัตว์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งเป็นผลทำให ้้มีการ ถ่ายทอดพลังงาน ไปยังผู้บริโภคระดับต่างๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นตัวทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมี ความสำคัญ ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืช และก่อให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ
 
เกณฑ์ในการพิจารณาและจัดสิ่งชีวิตเข้าไว้ในอาณาจักรสัตว์
1. เซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในไซโทพลาสซึม มีออร์แกนเนลล์ต่างๆ กระจายอยู่
2. ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ เรียกว่าเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์มีลักษณะ อ่อนนุ่ม และแตกต่างไปจากเซลล์พืช เซลล์เหล่านี้จะมารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน มีการประสานการทำงานระหว่างกัน สัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อหลายชนิดสามารถจำแนกตามหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของร่างกายเป็น 5 ประเภท คือ เนื้อเยื่อบุผิว(epithelial tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ(muscular tissue) เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue)
3. สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ด้วยกัน การดำรงชีวิต จึงมักเป็นแบบผู้ล่าเหยื่อหรือปรสิตเสมอ
4. โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่
5. โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะ รับความ รู้สึกและตอบสนอง เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์  เป็นต้น
 
 
 
 
 
วันที่ : 01/02/2556